HOME Back

Use the

Planning a Trip to Japan?

Share your travel photos with us by hashtagging your images with #visitjapanjp

ละครโน ทะคิกิ (ศาลเจ้าเฮอันจิงกู) 平安神宮の薪能

Takigi Noh (Heian-jingu Shrine) Takigi Noh (Heian-jingu Shrine)
Takigi Noh (Heian-jingu Shrine) Takigi Noh (Heian-jingu Shrine)

กองไฟและการแสดงอุปรากรโบราณที่ศาลเจ้าซึ่งเต็มไปด้วยประวัติศาสตร์

คบเพลิงโชติช่วงส่องแสงสว่างให้กับการแสดงละครละครโน ทะคิกิในยามค่ำ ซึ่งเป็นหนึ่งในรูปแบบการแสดงอุปรากรญี่ปุ่นที่เก่าแก่ที่สุด กิจกรรมนี้เป็นที่ชื่นชอบของชาวเกียวโต และตั๋วหน้างานก็จำหน่ายหมดอย่างรวดเร็ว คบเพลิงสว่างไสวและเวทีกลางแจ้งอันเป็นเอกลักษณ์ในเมืองหลวงสมัยโบราณของประเทศญี่ปุ่นจะทำให้คุณต้องตกตะลึง

พลาดไม่ได้

  • สำรวจเฮอันจิงกู ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีการจัดการแสดง
  • ละครเคียวเง็ง ละครตลกที่แสดงระหว่างช่วงพักของละครโน

วิธีการเดินทาง

สามารถเดินทางมายังเฮอันจิงกู จากสถานีเกียวโต ได้ด้วยรถบัส รถไฟใต้ดิน รถไฟ หรือแท็กซี่

หากนั่งรถไฟใต้ดิน เฮอันจิงกู จะอยู่ห่างจากสถานีฮิงาชิยามะของเกียวโตโดยใช้เวลาเดินเพียง 20 นาที หากนั่งแท็กซี่ จะใช้เวลาเดินทางประมาณ 15 นาทีจากสถานีเกียวโต มายังศาลเจ้า หากนั่งรถบัส ให้ขึ้นรถบัสที่มุ่งหน้าไปทางสถานีรถบัสคิตาโอจิ จากนั้นให้มาลงที่ป้ายฮิงาชิยามะนิโจ/โอกาซากิโคเอ็งกูจิ แล้วเดินต่ออีก 7 นาทีก็จะมาถึงศาลเจ้า

เกร็ดน่าสนใจ

ละครละครโน ทะคิกิจะถูก จัดแสดงที่เฮอันจิงกูทุกวันที่ 1 และ 2 มิถุนายน

จะได้รับส่วนลด หากซื้อตั๋วล่วงหน้า

เฮอันจิงกูเป็นการจำลองบางส่วนของพระราชวังที่สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 794

 

เฮอันจิงกู

 

นักแสดงจะใส่ชุดหรูหราและหน้ากากไม้เคลือบเงาขึ้นแสดง คบเพลิงที่โชติช่วงจะส่องแสงสว่างให้กับเวที เป็นภาพที่ตัดกันกับรูปแบบดั้งเดิมของการแสดงละครโนตามปกติทั่วไป การแสดงหลักที่มีความจริงจังจะแทรกด้วยการแสดงตลกขบขันอีกรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า “เคียวเง็ง” ละครเคียวเง็งนี้เต็มไปด้วยบทสนทนา การเคลื่อนไหว และสถานการณ์ตลกขบขัน หากแม้คุณไม่คุ้นเคยกับละครโน แต่ก็รับรองได้ว่าช่วงค่ำแห่งละครละครโน ทะคิกิจะทำให้คุณเพลิดเพลินได้แน่นอน

คำแนะนำสำหรับคุณ

Sanzenin
เกียวโต
Takigi Noh (Kofukuji Temple)
ละครโนห์ทะคิกิ (วัดโคฟุคุจิ)

ใกล้กับ ละครโน ทะคิกิ (ศาลเจ้าเฮอันจิงกู)

Please Choose Your Language

Browse the JNTO site in one of multiple languages

OSZAR »